
ส่วนของการออกแบบ และพัฒนาระบบ, เป็นการออกแบบ การเชื่อมต่อ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ ที่ถูกติดตั้ง ในแต่ละพื้นที่เข้ากับ ส่วนการประมวลผล, ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และสะดวกในการเรียกดู ผลการทำงานใน โหมดต่างๆ
ส่วนของการออกแบบและพัฒนาระบบ เป็นการออกแบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ถูกติดตั้งในแต่ละพื้นที่เข้ากับส่วนการประมวลผล ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และสะดวกในการเรียกดูผลการทำงานในโหมดต่างๆ
1234
การเชื่อมต่ออุปกรณ์และหน่วยประมวลผลของระบบ SigSurv
การค้นหาพิกัดและระบุตำแหน่งของแหล่งกำเนิดสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุด้วยเทคนิคการประมาณค่าแบบ TDOA จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ประสิทธิภาพสูงในการวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตกกระทบจำนวนสามตัวขึ้นไปเป็นอย่างน้อย โดยจัดวางแยกกันคนละพื้นที่ เพื่อให้ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการตรวจสอบ และให้เกิดความแตกต่างในการเดินทางระหว่างแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุไปยังสายอากาศของอุปกรณ์เซนเซอร์ประสิทธิภาพสูงที่ชัดเจนขึ้น
โดยระบบนี้ได้ออกแบบให้การทำงานของระบบ SigSurv เชื่อมต่อกันผ่านทางระบบเครือข่ายโทรศัพท์ และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เซนเซอร์ บันทึกข้อมูล ตลอดจนการประมวลผลข้อมูล โดยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูการแสดงผลในโหมดการทำงานแบบต่างๆ ได้จากตำแหน่งที่อยู่ห่างออกไป
- อุปกรณ์เซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง (RF Sensor) จำนวน 3 ตัวจะถูกควบคุมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์(Server)
- คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์(Server) ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้ให้บริการต่างๆ ในโครงข่ายที่มีลูกข่าย และจะประกอบไปด้วย
- โปรแกรมสำหรับบริหารจัดการดูแลข้อมูล
- โปรแกรมสำหรับประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์เซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง และมีหน้าที่ในการประมวลผลโปรแกรมประยุกต์ที่จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้ Sensor Access Library (SAL), Sensor Management Server (SMS), Sensor Management Tool (SMT) สำหรับการค้นหาและตั้งค่าการทำงานของอุปกรณ์เซนเซอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับระบบเครือข่าย
- Data Unit สำหรับเก็บบันทึกข้อมูลที่ได้รับมาจากอุปกรณ์เซนเซอร์และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
- Processing Unit สำหรับการประมวลผลสัญญาณคลื่นวิทยุที่ได้รับมาจากอุปกรณ์เซนเซอร์แต่ละตัว
การทำงานผ่านระบบเครือข่ายของระบบ SigSurv
จากการออกแบบระบบการเชื่อมต่อและหน่วยประมวลผลของระบบ SigSurv ก่อนหน้านี้ ตำแหน่งของอุปกรณ์เซนเซอร์จะต้องห่างกันพอสมควร การเชื่อมต่ออุปกรณ์เซนเซอร์เข้าด้วยกันผ่านทางระบบเครือข่าย LAN จะทำได้ยาก ดังนั้นจึงได้ออกแบบให้มีการเชื่อมต่อผ่านทางระบบเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่มีพื้นที่ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง และเพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ลูกข่าย โดยใช้อุปกรณ์เราท์เตอร์ (CellularRouter) เป็นสื่อกลาง